skip to main
|
skip to sidebar
วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เพลง
ฝัน หวาน อาย จูบ - พลอย ณัฐชา August Band
แฟชล
พืนหลัง
ลืมคนที่รักคุณที่สุด... ไปหรือเปล่า
กลั่นเม็ดเลือดเม็ดน้อยนับร้อยหยด จนปรากฎเป็นหยดนมรสกลมกล่อม เพื่อหล่อเลี้ยงทารกน้อยค่อยอดออม เฝ้าถนอมฟูมฟักรัก
เมตตา วันเปลี่ยนวันเดือนเปลี่ยนเดือนหมุนเคลื่อนคล้อย จากเด็กน้อยเริ่มมีแรงเริ่มแข็งกล้า ค่อยสอนเดินสอนทำสอนคำจา สอนปัญญาสอนวิชาสารพัน ทารกน้อยวันนี้เห็นเป็นผู้ใหญ่ แม่ภูมิใจในผลงานการ
สร้างสรรค์ ความเหน็ดเหนื่อยกายใจหายไปพลัน เมื่อถึงวันลูกได้รับปริญญา วันนี้ลูกของแม่สุขถ้วนทั่ว มีครอบครัวอยู่เย็นเป็นฝั่งฝา แม่คน
นี้ย่างเข้าสู่วัยชรา รอเวลาสู่กองฟอนตอนสิ้นใจ อยากฝากดาวถามฟ้าหาลูกรัก ใครรู้จักบอกให้ได้ไหมหนอ แม่ชราผู้อยู่หลังยังเฝ้ารอ บอกอยากขอเห็นหน้าอีกคราเอย
นาฬิกา
บทที่1
บทที่2
บทที่3
บทที่4
บทที่5
บทที่6
บทที่7
หน้าหลัก
เรื่องเล่าจากเหตุการณ์จริงค๊าบบบบบ
“ลันตา” ในมรสุมการพัฒนา
คราวคลื่นยักษ์สึนามิม้วนฝั่งอันดามัน ทรัพย์สิน สิ่งปลูกสร้างที่เกาะลันตาถูกทำลายเสียหายหนักบางเบาบ้างตามโชคชะตาของแต่ละคน มาวันนี้เกือบสามปีให้หลัง ชุมชนบนเกาะลันตาก็ยังดำรงอยู่ ขณะที่คลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงอีกชนิดหนึ่งในสายตาของคนท้องถิ่น นี่คือมหันตภัยลูกใหม่ที่ถาโถมเข้ามาสู่เกาะแห่งนี้ และกำลังสร้างความเดือดร้อนใจให้ชาวบ้าน
ทะเลที่เคยเป็นแหล่งทำมาหากินของผู้คนถูกถล่มกลายเป็นแผ่นดิน ที่ดินบนเกาะถูกกว้านซื้อตกอยู่ในมือนายทุน บนภูเขามีโรงแรมปรู แม้กระทั่งสุสานชาวเลก็กำลังถูกรีสอร์ตรุกล้ำ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงซึ่งทิ่มแทงหัวใจพวกเขายิ่งนัก สภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริงอย่างตรงไปตรงมานี้ฉายผ่านการเดินทางลงพื้นที่เกาะลันตา ที่ได้รับการขนานนามว่า “ไข่มุกเม็ดสุดท้ายของทะเลอันดามัน” เพราะมีหาดทรายขาวและทะเลสีคราม อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ช่วงเวลานี้บนเกาะลันตาคึกคัก เพราะเข้าสู่ไฮซีซั่น โรงแรม รีสอร์ต ร้านอาหาร ผับ บาร์ มากมายผุดขึ้นที่ฝั่งตะวันตกของเกาะลันตาใหญ่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว โซนนี้ยิ่งกว่าทำเลทอง ในขณะที่ฝั่งตะวันออก ชาวบ้านเรียกว่า “หน้าเกาะ” บรรยากาศต่างกันลิบลับ ชาวบ้านยังคงประกอบอาชีพประมงและทำสวนยาง ด้วยเป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีอายุมากกว่า 100 ปี ธีรวัฒน์ ตันติวิรมานนท์ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และที่ปรึกษาการจัดการโครงการฟื้นฟูวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชน และการจัดการระบบนิเวศที่ยั่งยืนของเกาะลันตา กล่าวว่าหนึ่งปีหลังเหตุการณ์สึนามิ กระบวนการที่โครงการฟื้นฟูฯ ใช้เริ่มจากชุมชนเข้ามาจัดการ ไม่ได้เริ่มจากการสงเคราะห์หรือให้สิ่งของ ซึ่งต่างจากที่เกาะมัลดีฟ, ศรีลังกา, อินโดนีเซีย ชาวบ้านได้รวมตัวกันเพื่อซ่อมสร้างบ้านและเรือประมงตามกำลังที่ทำได้ ใช้เจตนารมณ์ของชาวบ้านและองค์กรต่าง ๆ ที่เห็นร่วมกันว่า ไม่ควรรอคอยความช่วยเหลือจากภายนอกอย่างเดียว แต่ต้องวางแผนชีวิตชุมชนให้ดำเนินต่อไปในระยะยาว หลังจากกระบวนการทำงานตรงนั้น ใช้การประชุม มีคณะกรรมการดำเนินงานจนเกิดเป็นการรวมตัวขององค์กรสนับสนุนและชาวบ้านในนาม “เครือข่ายชุมชนฟื้นฟูเกาะลันตา” ต่อมาเป็นรากฐานในการทำงานระดับใหญ่
สำหรับกระบวนการฟื้นฟูวิถีชีวิตและบ้านเมืองให้อยู่รอดนั้นจำเป็นต้องมีความหลากหลายในอาชีพ รวมถึงวิถีวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา โดยเห็นความสำคัญของการศึกษารากเหง้าเกิดการขยายผลเป็นกิจกรรมหลากหลาย มีการฟื้นฟูวิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณีขนานใหญ่ใน 3 ชาติพันธุ์ ได้แก่ ชาวเล ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกเกาะลันตาใหญ่เป็นกลุ่มแรก ชาวมาลายูหรือมุสลิม เป็นกลุ่มที่เข้าอยู่ต่อมา และชาวจีนที่เดินเรือเข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐานบนเกาะต่อมา มีงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นป่าชายเลน ดิน น้ำ ป่า และ 1 ปีหลัง สึนามิ จัดงานเปิดเล เขเรือ เป็นครั้งแรก โดยชุมชนเป็นแกนหลักในการดำเนินงาน งานวันนั้นถือเป็นจุดพลิกผัน เครือข่ายชุมชนฟื้นฟูเกาะลันตาได้ประกาศตัวตนและความเป็นเจ้าของในการอนุรักษ์และรักษาทะเลวิถีชุมชน เพราะนี่คือลมหายใจและชีวิตของพวกเขา “ครบ 3 ปี เหตุการณ์สึนามิ รู้สึกว่ามีคลื่นลูกที่สอง เป็นความกดดันต่อชุมชนท้องถิ่นจากการพัฒนาการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่กรูเข้ามา ในขณะที่ชุมชนพยายามรักษาเอกลักษณ์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของตนเองท่ามกลางกระแสพัฒนาสมัยใหม่ อีกประเด็นเป็นปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีที่เหนือกว่า”
อย่างไรก็ตาม ธีรวัฒน์ ตัวแทน UNDP กล่าวว่า ชุมชนเกาะลันตาต้องมีบทบาทสำคัญในการจัดการทรัพยากร มีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดนโยบายพัฒนาท้องถิ่น และสอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณี เพื่อดำรงชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ของเกาะลันตาและเอื้อต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยไม่จำเป็นต้องมีสนามกอล์ฟ สนามบินน้ำ
ด้านรวงทอง จันดา ผู้ประสานงานโครงการฟื้นฟูฯ กล่าวว่า ชาวเกาะลันตาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงทำสวนยางที่เหลือค้าขาย ทำบังกะโล แล้วก็รับจ้าง ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลวัดได้จากจำนวนเรือประมงทั่ว อ.เกาะสันตา มีอยู่มากกว่า 1,500 ลำ ก่อนเกิดสึนามิธรรมชาติเปลี่ยนแปลง ชุมชนมีแต่ของมึนเมา นักท่องเที่ยวเข้ามามาก ที่ดินราคาสูงขึ้น และมีการขายที่ดินกันมาก แต่สึนามิก็ทำให้คนลันดาคิดมากขึ้น คิดได้ว่าเราต้องกวาดบ้านตัวเองเสียก่อน ทุกอย่างที่เข้ามาปฏิเสธไม่ได้ จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ช้าก็เร็ว อย่างเรื่องสะพานเชื่อมระหว่างเกาะลันตาน้อยกับลันตาใหญ่ ที่ชาวบ้านเรียกร้องให้ภาครัฐสร้างที่ผ่านมาชาวลันตาเผชิญกับความตายของญาติพี่น้องเพราะเสียเวลารอเรือแพขนานยนต์โดยเฉพาะช่วงฤดูการท่องเที่ยวรถจะติดยาว เป็นความเจ็บปวดที่สะสมเรื่อยมา ทุกคนรู้ว่าถ้าสะพานมาเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ที่แน่ ๆ ที่สมุย ที่พีพี ถึงไม่มีสะพานก็เละ เราจะตั้งรับกับทุกอย่างยังไงไม่ให้หัวคะมำ จากเจ้าของที่ดินกลายเป็นลูกจ้าง เป็นแรงงานในธุรกิจบริการท่องเที่ยว ตามครรลองพื้นที่ท่องเที่ยวทั่วไป เราหยุดไม่ได้เรื่องการท่องเที่ยว แต่เราได้ทำอะไรเพื่อบ้านหรือถิ่นเกิดตัวเองหรือเปล่า
ก่อนหน้าเหตุการณ์สึนามิมีกระแสข่าวนโยบายการพัฒนาเกาะลันตาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับไฮคลาสแห่งใหม่ขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ซึ่งจะมีการสร้างท่าเรือมารีน่า สนามบินน้ำ รวมทั้งโครงการขุดลอกขยายคลองลัดบ่อแหน เพื่อให้เรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่แล่นผ่านได้ ซึ่งชาวบ้านกังวลว่านโยบาย อพท.จะกระทบวิถีชีวิตชาวเกาะลันตา แม้วันนี้จะหยุดชะงักไป แต่ไม่มีใครมั่นใจว่าโครงการนี้จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ ประชีพ หมัดนุ้ย หรือ ครูชีพ ชาวเกาะปอ บอกว่า แนวคิดของ อพท. จะรวบอำนาจการบริหารจัดการไปยังกลุ่มทุนเฉพาะกลุ่ม โดยมีงบประมาณรัฐเอื้อให้เกิดโครงการสาธารณูปโภค เพื่อดึงนักลงทุนมาลงที่เกาะ แต่ที่นี่ชุมชนมีศักยภาพในการจัดการเกาะ ไม่ควรให้ อพท.เข้ามาบริหารจัดการเหมือนกับเกาะช้าง จ.ตราด หรือไนท์ซาฟารีเชียงใหม่ แม้ขณะนี้นโยบายของ อพท.ถูกเว้นวรรค แต่หลังเลือกตั้งรัฐบาลใหม่เข้ามาก็อาจผลักดันโครงการได้อีก
จากการพูดคุยกับเอ็นจีโอในพื้นที่ เรายังรู้มาว่า เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมารองปลัดกระทรวงมหาดไทยลงพื้นที่ บอกว่ามาสำรวจพื้นที่ตามปกติ แต่สิ่งที่รู้ก็คือ ทางผังเมืองและกรมโยธาธิการจังหวัดว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้เรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวสำรวจเพื่อจัดทำผังเมืองเฉพาะทั้งหมด จากนั้นกลางเดือนมีการนำเรื่องการพัฒนาเกาะลันตาโดย อพท.พูดที่ศาลากลางจังหวัดกระบี่ ทางภาครัฐยืนยันว่ามีทั้งรถรางรอบเกาะ กระเช้าลอยฟ้า ท่าเรือมารีน่า ส่วนสนามบินน้ำไม่มีในแผน
ครูชีพกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า กระบวนการทำงานของภาครัฐยังปิดบังเรา บอกว่าไม่มีสนามบินน้ำแล้ว แต่มีเครื่องบินลงปกติทุกวันหน้าเกาะ ทั้งที่เป็นจุดวางอวนกุ้ง อวนปู อวนปลาของชาวบ้าน ครั้งหนึ่งพี่น้องชาวจอดเรือลอยลำหาปลา เครื่องบินลงผ่ากลางหัว มันกระทบประมงพื้นบ้านและวิถีชีวิตของชุมชน เขาไม่จริงในกับชาวบ้าน สุดท้ายจะเชื่อใจได้แค่ไหน เมื่อมันบินลงทุกวัน นอกจากนี้ ถ้าเกาะลันตาประกาศเป็นพื้นที่ อพท.จะมีการขุดการขุดลอกคลองลัดแหนสำหรับเรือท่องเที่ยวเรือยอร์ชแล่นผ่านต้องลอกออกไปข้างละเกือบกิโลเมตร ระบบนิเวศป่าชายเลนบริเวณนั้นถูกทำลาย คลองสายนี้ยังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลามากมาย ได้พึ่งพาอาศัยและเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ของชาวเลในเกาะลันตาใช้ทำพิธีกรรมเรื่อยมา
นอกจากนี้ ครูชีพยังระบุถึงการถมทะเลบริเวณแหลมคอกวางเป็นแผ่นดินเพื่อเชื่อมเกาะ จนกระทั่งชุมชนชาวเลเดิมที่เรียกว่า “อุรักลาโว๊ย” ต้องย้ายออกจากพื้นที่ อีกตัวอย่างของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนเกาะลันตาที่บอกเล่าอย่างเจ็บปวดเป็นกรณีสุสนชาวเลที่พี่น้องเรียกว่า “เปลวคลองดาว” ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณสุขรีสอร์ตลุกล้ำ เพราะต้องการพื้นที่ทางการท่องเที่ยวโดยไม่สนใจวิถีชุมชน เรื่องปัญหาที่ดินก็ยังค้างคาใจชาวบ้าน เพราะคนในท้องถิ่นตั้งรกรากทำมาหากินมานานไม่มีเอกสารสิทธิ์แต่ระยะหลังเมื่อนายทุนมาสร้างรีสอร์ต ทำบังกะโลกลับมีเอกสารสิทธิ์ถือครองที่ดินถูกต้องตามกฎหมายอย่างหน้าตาเฉย
“10 ปีให้หลังเกาะลันตาพัฒนาเร็วมาก ๆ ท่าทางจะเอาไม่อยู่ เราไม่ได้ต่อต้านการท่องเที่ยว แต่การท่องเที่ยวต้องให้อะไรคืนชาวบ้านบ้างไม่ใช่พอสปีดโบ๊ตเข้ามาปุ๊บเรือหัวโทงท้ายหมด” ครูชีพบอก พร้อมกับระบุว่า 3 ปีมานี้คนในชุมชนร่วมกันฟื้นฟูชีวิตดั้งเดิม มีแบบแผนและเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น หวังจะสร้างชุมชนเข้มแข็ง และมีการรวมกลุ่มกันปกป้องผลประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่น
เกาะปอเป็นหนึ่งใน 9 เกาะของ อ.เกาะลันตา คนบนเกาะเกือบทั้งหมดเป็นไทยมุสลิม ยังชีพด้วยประมงพื้นบ้านหากุ้งหาปลาอยู่กับทะเลนับเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง โดดเด่นเรื่องการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและมีการตั้งรับการท่องเที่ยวในรูปแบบชาวไทยมุสลิม
ผู้ใหญ่เอียด ย่าแหม หรือ บังเอียด ผู้ใหญ่บ้านเกาะปอ หมู่ 4 บอกว่าหลังสึนามิ ชาวบ้านได้เรียนรู้ปัญหาและหาทางแก้ไขมีการจัดการชุมชนเป็นระบบ ตั้งร้านค้าชุมชน ธนาคารชุมชน มีคณะกรรมการจัดการน้ำ เพราะน้ำจืดมีค่าและหายาก ถ้าบังกะโจะเข้าไปขุดเจาะน้ำต้องผ่านคณะกรรมการชุมชนก่อน ที่นี่เป็นชุมชนมุสลิมห้ามนักท่องเที่ยวนุ่งสั้น สายเดี่ยว หรือใส่บิกินีลงเกาะ ด้านประมงพื้นบ้านมีการกำหนดกติกาชุมชนขึ้นมา รอบเกาะปอนอกจากปลา ปู กุ้ง อุดมสมบูรณ์แล้ว ยังเป็นแหล่งที่มีหอยชักตีนมากและเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะหอยชักตีนที่นี่ตัวใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในทะเลอันดามัน ราคาซื้อขายที่สูงทำให้แหล่งหอยรอบเกาะถูกจับอย่างหนัก ช่วงนั้นใช้อวนลากหอยชักตีน ได้วันละเป็นร้อยโล แต่ตัวอ่อน ไข่หอย หญ้าทางทะเลเสียหาย 3 เดือนหอยถูกจับขายเกือบหมด ชาวบ้านต้องร่วมกันหาทางปกป้อง ในที่สุดออกมาเป็นกติกาห้ามใช่อวนลาก ต้องดำธรรมดาด้วยตาเปล่า ใช้ลมหายใจตัวเอง ห้ามใช้เครื่องทุ่นแรง ถึงลมก็ไม่ได้ ตั้งแต่ออกกฎนี้เก็บหอยชักตีนได้ตลอดปี
“ชาวเกาะปอใช้เรือหัวโทงกับเครื่องมือพื้นบ้านที่ไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม ดูแลรักษาป่าไม้ชายเลน ช่วงกันปกป้องไม่ให้เรืออวนลาก เรือคราดหอยเข้ามาในแนวชายฝั่ง ใช้อวนตาข่ายแบบตาห่าง ปลาตัวโตเท่านั้นที่ติดอวน ลูกปลาลอดผ่านโตเป็นปลาใหญ่ให้หากินได้ยาวนาน ทั้งหมดนี้เพราะต้องการให้ท้องทะเลเกาะปอมีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน สมกับความหมายของเกาะปอ ที่แปลว่าหม้อข้าวหม้อแกงอันยิ่งใหญ่และสมบูรณ์” บังเอียดกล่าวทิ้งท้าย
แม้เวลานี้ความจริงที่ว่าที่ดินร้อยละ 80 บนเกาะปอตกอยู่ในมือนายทุนภายนอกเสียแล้ว แว่วว่าเป็นนักการเมืองหญิงชื่อดังที่มา กว้านซื้อไว้มากมายในช่วงเรืองอำนาจ ขณะที่เจ้าของที่ดินดั้งเดิมก็ย้ายออกไป แต่บังเอียดและชาวบ้านก็ไม่คิดทิ้งถิ่นฐาน และพยายามรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท่ามกลางกระแสพัฒนาที่กำลังเข้าถาโถม
ผู้ติดตาม
คลังบทความของบล็อก
▼
2009
(3)
▼
กุมภาพันธ์
(2)
ดอกไม้ประจำวันเกิด เกิดวันอาทิตย์ต้นไม้ประจำวันเกิ...
ไม่มีชื่อ
►
มกราคม
(1)
เกี่ยวกับฉัน
tik
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น